เครนอุตสาหกรรม
เครนอุตสาหกรรม หรือเครนเหนือศีรษะ พร้อมติดตั้งรอกอุตสาหกรรม สามารถปรับการทำงานได้ตามต้องการพร้อมรองรับความต้องการใช้งานของลูกค้าสำหรับใช้งานในพื้นที่ภายในโรงงาน เครนเหนือศีรษะ (Overhead Crane) ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีการเคลื่อนที่ 6 ทิศทาง คือ ขึ้น-ลง, ซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง, มีทั้งแบบคานคู่ และคานเดี่ยวขึ้นอยู่กับขนาด (Capacity) และความกว้างของเครน (Span)
เครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้ยกน้ำหนักไม่หนักมาก มีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 - 25 เมตร มีน้ำหนักยกตั้งแต่ 0.1 ตัน ถึง 12.5 ตัน ซึ่งจะมีรอกไฟฟ้าสำหรับเครนแบบคานเดี่ยวที่ออกแบบผลิตเป็นมาตรฐานรุ่นต่างๆ ไว้แล้ว สำหรับใช้งานแขวนประกอบกับเครนชนิดนี้ โดยมีความเหมาะสมและปลอดภัย เป็นเครนไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด สำหรับงานอุตสาหกรรม เพราะโครงสร้างตัวเครนมีน้ำหนักเบา ใช้พื้นที่ความสูงจากรางวิ่งเครนถึงหลังคาไม่สูงมากนัก สามารถเคลื่อนที่ยกวัตถุได้ชิดซ้าย-ขวา ได้มากขึ้น เพราะสัดส่วนความกว้างของชุดขาเครน (เส้นผ่านศูนย์กลางจากระยะล้อ-ล้อ) ตามมาตรฐาน BS Standard ระยะปลอดภัยอยู่ที่ประมาณ 1/6 ของความกว้างชุดเครนเท่านั้น ความเร็วในการใช้งานความเครนที่เหมาะสม ซึ่งควรมีความเร็วแบ่งเป็น 2 จังหวะ คือ จังหวะเคลื่อนที่ช้า และเร็วในทิศทางเดียวกัน และปัจจุบันได้มีการนำชุด Inverter เข้ามาใช้ในการคอนโทรลเครนไฟฟ้าเคลื่อนตามแนวระดับราบ เช่นการเคลื่อนที่ของเครนเหนือศีรษะบนรางวิ่งแนวขวาง ซ้าย-ขวา และแนวยาว หน้า-หลังของโรงงาน ทำให้ชุดเครนเคลื่อนที่ได้อย่างนิ่มนวล ลดการสึกหรอ และประหยัดพลังงาน เพื่อให้การใช้งานเครนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งยกวัตถุเคลื่อนที่จัดวางได้อย่างนิ่มนวล และปลอดภัย สำหรับในเรื่องการยกสูงผู้ใช้งานทั่วไปส่วนใหญ่ต้องการระยะในการยกสูงประมาณ 5 - 10 เมตร โดยวัดจากพื้นถึงระยะตะขอยกขึ้นสูงสุดถึงใต้คานของเครนไฟฟ้าชนิดนี้
เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้ยกน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10 - 30 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 5 ตัน ถึง 50 ตัน ซึ่งจะมีรอกไฟฟ้าสำหรับเครนแบบคานคู่ที่ออกแบบผลิตเป็นมาตรฐานรุ่นต่างๆ ไว้แล้ว สำหรับใช้งานวางบนเครนแบบคานคู่ โดยมีความเหมาะสมและปลอดภัย เครนเหนือศีรษะแบบคานคู่ เป็นเครนไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากเครนเหนือศีรษะแบบคานเดี่ยว เพราะส่วนมากจะใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งมีไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และโครงสร้างตัวเครนเป็นแบบคานคู่จึงมีน้ำหนักรวมโครงสร้างมากกว่าเครนแบบคานเดี่ยวในขนาดของเครนที่ใช้ยกน้ำหนักที่เท่ากัน จึงเป็นภาระหนักที่มากกว่าสำหรับโครงสร้างเสาโรงงาน แต่ถ้างานที่ต้องการใช้เครนไฟฟ้ามีน้ำหนักยกที่หนักมาก หรือเป็นเครนขนาดกว้างมาก เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่จะเหมาะสมมากกว่า เพระมีโครงสร้างที่มีความแข็งแรงและปลอดภัยมากกว่า เหมาะสมกับโรงงานที่ต้องการใช้เครนเหนือศีรษะยกน้ำหนักตั้งแต่ขนาด 10 ตันขึ้นไป และ/หรือ มีความกว้างของโรงงานมากกว่า 20 เมตรขึ้นไป ความเร็วในการใช้งาน แบ่งเป็น 2 จังหวะ คือ จังหวะเคลื่อนที่ช้า และเร็วในทิศทางเดียวกัน เหมือนกับเครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว แต่เมื่อต้องใช้เครนขนาดที่ใหญ่ขึ้น ก็ควรเลือกใช้ระบบความเร็วที่ช้ากว่าเครนขนาดเล็ก เพื่อการทำงานที่ความปลอดภัย